Cute Green Cloud

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Diary Note 24 April 2017

Diary Note No.10


***สอนเสริมประสบกาณ์วันพฤหัสบดี***

หน่วย ดิน เรื่อง ประโยชน์ของดิน





ข้อเสนอแนะ
  • นิทานควรเล่มใหญ่กว่านี้
  • นิทานเขียนกว้างเกินไป ควรเขียนให้ชัดเจน
  • คำที่เขียนในนิทานต้องเป็นคำง่ายๆ
  • ภาพที่เตรียมมาต้องใหญ่กว่านี้
เทคนิค
  1. ขั้นนำ คือ การสอนโปรยความรู้
  2. ขั้นสอน คือ สอนเสริมประสบการณ์เดิมของเด็ก
  3. ขั้นสรุป คือ สรุปเรื่องที่เรียนมาทั้งหมดในวันนี้



หน่วย นม เรื่อง ประโยชน์ของนม Cooking นมเย็น






ข้อเสอนแนะ
  • บอกวัตถุดิบให้เด็กรู้จักก่อน เด็กจะได้รู้ว่าจะหยิบอะไรใส่ลงไป
  • ขั้นตอนการทำ ควรทำเป็น 4 ชาร์ท
การประยุกต์ใช้กับ STEM
  • S ขณะที่เด็กทำนมเย็น การเปลี่ยนสีของนม
  • T ขั้นตอนการวางแผน
  • E ได้นมเย็น
  • M ส่วนผสม ใส่กี่ช้อน กี่ถ้วย



หน่วย ไข่ เรื่อง ประโยชน์ของนม Cooking ไข่พระอาทิตย์



ข้อเสนอแนะ
  • ให้เด็กออกแบบ และให้ใส่ผักตามใจชอบ
  • สร้างประเด็กปัญหา ทำอย่างไร ไข่ถึงจะกินได้
  • ตั้งสมมติฐาน ถ้าใส่ไข่ในกระทะร้อนๆ เด็กๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขั้น "ไข่สุก" คือ สมมติฐาน
  • ทำการทดลองโดยให้เด็กสังเกต สี กลิ่น และ การเปลี่ยนแปลงสถานะ



***สอนเสริมประสบกาณ์วันศุกร์***

หน่วย ดิน เรื่อง โทษของดิน





ข้อเสนอแนะ
  • ใช้ภาพเป็นประเด็นปัญหา
  • ใช้คำถามปลายเปิด มีกรณีศึกษา


หน่วย ดิน เรื่อง โทษของนม


ข้อเสนอแนะ
  • ให้นำเนื้อหาจากเพลงมาสอน



หน่วย ไข่ เรื่อง การทำไข่เค็ม





ข้อเสนอแนะ
  • ใช้คำถามถามเด็ก ไข่ถ้าเราจะเก็บไว้นานๆ เด็กๆ จะทำอย่างไรคะ






Diary Note 20 April 2017

Diary Note No.9


***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันจันทร์***

หน่วยไข่ เรื่อง ประเภทของไข่






ข้อเสนอแนะ
  • นับเรียงจากซ้ายมือของเด็กไปยังขวามือของเด็ก เมื่อนับเสร็จแล้วให้เด็กออกมาปักป้ายกำกับจำนวน
  • ควรบอกเกณฑ์แบ่งให้ชัดเจน



หน่วยกล้วย เรื่อง ประเภทของกล้วย






ข้อเสนอแนะ
  • ถ้าเด็กอนุบาล 3 ให้เด็กจับกลุ่มกล้วยไปเลย
  • 1 ต่อ 1 เป็นระยะเริ่มต้น สอนแค่ครั้งแรก ครั้งต่อไปสอนจับกลุ่มไปเลย




***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันอังคาร***

หน่วยดิน เรื่อง ลักษณะของดิน



ข้อเสนอแนะ

  • สอนในสิ่งที่อยู่ไกลๆ ตัวก่อน แล้วค่อยมาสอนสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ
  • มีประเด็นให้เด็กได้คิด
  • ภาชนะที่ใส่ดิน ควรโปร่งใส
  • มีผ้าเช็ดมือ หรือ กระดาษทิชชู่
  • สอนให้เสร็จไปเรื่องๆ ไป
  • ควรมีรูปภาพมาประกอบ



หน่วยไข่ เรื่อง ลักษณะของไข่

***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันพุธ***

หน่วยไข่ เรื่อง ประโยชน์ของไข่







ข้อเสนอแนะ
  • นิทานต้องเล่มใหญ่กว่านี้
  • เมื่อเล่นนิทานเสร็จ ต้องพูดสรุปเนื้อหาจากนิทาน
  • เนื้อหาในนิทานสอนอะไร ก็สอนถามนั้น
  • สรุปและบันทึกประสบการณ์เดิมที่นอกเนื้อจากนิทาน
  • ควรมีภาพประกอบ

Diary Note 27 March 2017

Diary Note.8

***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันจันทร์***

หน่วยดิน เรื่องประเภทของดิน





หน่วยนม เรื่องประเภทของนม





หน่วยสัตว์ เรื่องประเภทของสัตว์





***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันอังคาร***

หน่วยนม เรื่องลักษณะของนม




Diary Note 13 March 2017

Diary Note.7

นิทานกับดักหนู



การสอนแบบโครงการ Project Approach 




5 ลักษณะของการสอนแบบโครงการ Project Approach
  • ลักษณะที่ 1 การอภิปราย
  • ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  • ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
  • ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
  • ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง
วิธีการสอนแบบโครงการ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้น
         - เริ่มต้นจากประสบกาณ์เดิม ข้อคำถามที่เด็กสงสัย สร้างประเด็กสำคัญ การบันทึก ออกแบบกิจกรรมโดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม
  • ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
         - เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่เด็กสงสัย ขอความร่วมมือจากผู้แกครอง ขั้นสุดท้ายของระยะที่ 2 คือ การวางแผนกำหนดหน้าที่ว่าใครจะนำเสนออะไรและในระยะทำอะไรบ้าง
  • ระยะที่ 3 การสรุป
         - การนำเสนอ การจัดแสดง เป็นชิ้นงานต่างๆ 
**เมื่อจบ Project ต้องสารนิทัศน์ได้**

การเลือกเรื่อง
  • ดูความต้องการของเด็กจริงๆ ต้องไม่เกิดจากการลงมติ
  • เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
  • ผู้ปกครองให้ความร่วมมือได้
  • สอนดคล้องกับหลักสูตร
การสอนแบบโครงการตอบสนองการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโอวาร์ด การ์ดเนอร์

พหุปัญญา 8 ด้าน
  1. ปัญญาด้านภาษา
  2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
  5. ปัญญาด้านดนตรี
  6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
  7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
  8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
ตรวจแผนเสริมประสบการณ์ของตนเอง






Diary Note 6 March 2017

Diary Note No.6


เพลงที่ฝึกการใช้สมองเป็นฐาน

เพลง ศูนย์ สอง ห้า สิบ

 ศูนย์ สอง ห้า สิบ (ซ้ำ)
นวดไหล่ซ้าย
นวดไหล่ขวา
แล้วหันมาหัวเราะกัน (ซ้ำ)
ฮะ ฮ่ะ ฮ่า ฮะ ฮ่ะ ฮ่า


เพลง จับหัว จับหู จับไหล่

จับหัว จับหู จับไหล่
จัดดูใหม่ จับไหล่ จับหู
นับใหม่ จับให้ฉันดู (ซ้ำ)
จับหัว จับหู แล้วมาจับไหล่


เพลง อย่าเกียจคร้าน

อย่าเกียจคร้านการทำงานนะพวกเรา
งานหนักงานเบา เหนื่อยแล้วเราพักผ่อนก็หาย
ไม่มีงานหลบหลีกงาน ด้วยเกียจคร้าน เอาแต่สบาย
แก่จนตายขอทำนายว่าไม่เจริญ

เทคนิคการสอนร้องเพลง
  1. อ่านให้เด็กฟัง
  2. ให้เด็กตามทีละวรรค
  3. ร้องพร้อมกัน
***ภาพกิจกรรม***





Diary Note 4 March 2017

Diary Note No.5

นำเสนอแผนเคลื่อนไหวและจังหวะของแต่ละหน่วย ดังนี้

หน่วยไข่

หน่วยนม

หน่วยดิน










วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

Diary Note 20 February 2017

Diary Note.4

อาจารย์ให้นักศึกษาที่เขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ วันจันทร์ ออกมาสอน

หน่วยไข่





หน่วยนม




หน่วยดิน







ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากไหน??

  • ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก หรือสาระที่เด็กควรเรียนรู้ 4 สาระ 
  • เมื่อได้หัวข้อ หรือ หน่วยที่สอนแล้ว ให้นำมาแตกเนื้อหา เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่เราจะเรียนมีอะไรบ้าง ซึ่ง เนื้อหาต้องจัดให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กด้วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

**สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้**

วัตถุประสงค์

  • คือ สิ่งที่เด็กต้องทำ
สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

  • คือ เนื้อหาที่เราจะสอน
แนวคิด
  • คือ คอนเซ็ป ตัวสรุป
ประสบการ์ณสำคัญ
  • นำมาจากหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
  • เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

การบูรณาการ
  • คือ การนำศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสาน รวมกัน ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

     1.คณิตศาสตร์

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      2. วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ขั้นสังเกตและระบุปัญหา
         คือ ระบุปัญหาเรื่องที่ต้องการศึกษา และกำหนดขอบข่ายของปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมติฐาน
         คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือ คาดเดาคำตอบที่ได้รับ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล
         คือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยันโดยการสังเกต หรือ การทดลอง
  • ขั้นสรุปผล
         คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
ปัญหา - -> คำถาม - -> สมมติฐาน - -> ทดลอง - -> สรุป

ในหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ อาจารย์ให้คิดปัญหา และตั้งสมมติฐาน
  • กลุ่มดิน
    ปัญหา : ดินชนิดไหน น้ำไหลผ่าน หรือ ดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด และเหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุด

    สมมติฐาน : ดินทราย     น้ำน่าจะไหลผ่านได้ดีที่สุด
                        ดินร่วน        น้ำน่าจะไหลผ่านได้น้อยกว่าดินทราย
                        ดินเหนียว   น้ำไหลผ่านได้ยากกว่าดินทราย และ ดินร่วน

      3. สังคม
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง
  • การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

      4. ศิลปะ
  • กิจกรรม ปั้น ฉีก ตัด ปะ

      5. ภาษา
  • การฟัง
  • การพูด
ตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์ หน่วยไข่

เพลง  - ->  ถามเนื้อหาในเพลง  - ->  เขียน ไข่ที่มีอยู่ในเพลง และ ไข่ที่มีนอกเนื้อในเพลง  - ->  เอาไข่ใส่กล่องให้เด็กล้วง  - ->  เอาออกมาให้ดู  - ->  ให้เด็กคาดคะเนว่ามีไข่ประมาณที่ใบ  - -> นำมาวางเรียงกันเป็นแถว  - -> นับตัวเลข  - ->  เขียนเลขฮินดู-อาร์บิก  - ->  แยกประเภท  - -> นำออกมา  - ->  เรียงเป็นแถว  - ->  นับจำนวนให้เด็กตอบจากการดูด้วยตา    - ->  จับคู่ 1 ต่อ 1 




Diary Note 6 February 2017

Diary Note No.3

ปรัชญาของการศึกษาปฐมวัย

"การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม"
 
หลักการ
              1.การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
              2.การสร้างสภาพแวดล้อมที่เื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
              3.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
              4.การบูรณาการการเรียนรู้
                        ผสมผสานให้เข้ากัน บูรณาการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                                  1.บูรณาการแบบไม่เห็นร่องรอย เช่น สมูทตี้
                                  2.บูรณาการแบบเห็นร่องรอย เช่น ส้มตำ
                        บูรณการให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
              5.การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
                        ต้องรู้ว่าสุดท้ายที่จัดประสบการณ์ เด็กมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    ต้องมีการประเมิน ประเมินโดยการสังเกต ---> แบบสังเกต ประเมินโดยการสนทนา ---> แบบบันทึก ประเมินโดยผลงานเด็ก ---> ดูคุณลักษณะตามวัย เป็นเกณฑ์ ถ้าประเมินหลาย ๆ อย่างร่วมกันเรียกว่า Portfolio
              6.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวเด็ก
                       เช่น การเยี่ยมบ้าน การรับส่งเด็ก จดหมาย บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง สื่อสังคมต่าง ๆ ติดต่อทาง Internet

      หัวเรื่อง คือ สาระที่เด็กควรเรียนรู้ ซึ่งมี 4 สาระ ดังนี้
      1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
      2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
      3. ธรรมชาติรอบตัว
      4. สิ่งต่างๆ รอบตัว
      ** ซึ่งทั้ง 4 สาระที่เด็กควรเรียนรู้ จะเป็นตัวกำหนด ชื่อหน่วย ต่างๆ **

      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยที่จะสอน กลุ่มละ 1 หน่วย

           โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
      1. หน่วยนม
      2. หน่วยไข่
      3. หน่วยดิน
      คิดแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยของกลุ่มตัวเองตั้งไว้ ระยะเวลา 5 วัน จ.-ศ.

      วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

      Diary Note 30 January 2017

      Diary Note No.2

      การบริหารจัดการชั้นเรียน

      การจัดที่นั่งของเด็ก

      • ในกรณีที่เด็กนั่งอยู่กับพื้นราบ ครูควรหาเก้าอี้เล็กๆ มานั่งสอน เพราะถ้าครูยืนสอน จะทำให้เด็กต้องนั่งเงยหน้าขึ้นมองครูตลอดเวลา ทำให้เสียสุขภาพของเด็กได้
      • ในขณะสอน ครูควรยืนอยู่ตรงกลางหน้าชั้นเรียน ไม่ยืนอยู่ในระนาบสายตาด้านข้างของเด็กแถวหน้า
      เทคนิคการจัดที่นั่งเด็กเป็นครึ่งวงกลมในขณะที่เด็กยืนเป็นแถวตอนลึก
      • ใช้เทคนิคการร้องเพลง  
      เพลง เข้าแถว

      ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงปรบมือแผะ แขนซ้าย (ขวา) อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ


      ตัวอย่าง แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม เช่น กลุ่มสตอเบอรี่  กลุ่มกล้วย กลุ่มส้ม
      • ให้กลุ่มสตอเบอรี่ หันไปทางด้านหวา กลุ่มส้ม หันไปทางด้านซ้าย โดยใช้เพลงในการบอกเด็ก
      • จากนั้นให้ กลุ่มกล้วย ที่อยู่แถวกลาง เดินไปจับมือกับ กลุ่มสตอเบอรี่ และกลุ่มส้ม
      • และจัดเด็กให้นั่งให้เรียบร้อย
      บรรยากาศการจัดชั้นเรียน
      • ควรจัดให้ลดปัญหาการกระทบกระทั่งมากที่สุด หรือ จัดให้ลดการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
      การเล่นตามมุมและการจัดมุมประสบการณ์
      • ควรให้เด็กได้เลือกเล่น และเล่นอย่างอิสระ ให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง จากนั้นเด็กก็จะได้รับประสบการณ์จากการเล่นที่ตนเลือก และเด็กจะเกิดการเรียนรู้ 
      • ซึ่งการจัดมุมประสบการณ์ หรือ มุมต่างๆ ควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการใช้งาน
      การจัดที่นั่งในวิชาศิลปะ
      • ให้นั่งเป็นกลุ่มหรือเป็นฐาน บนโต๊ะหรือที่พื้นก็ได้ ตามความเหมาะสมของสภาพห้องและกิจกรรม
      • เพิ่มเก้าอี้ว่าง 1 ตัว ในทุกๆ กลุ่มหรือฐาน เพื่อไม่ให้เด็กคนที่ทำงานเสร็จก่อน รอที่จะเข้ากลุ่มทำฐานต่อไป เมื่อมีเก้าอี้ว่าง 1 ตัว เด็กก็สามารถเข้าไปนั่งทำได้เลย
      เพลงที่ใช้ให้เด็กช่วยเก็บของ

      เพลง เก็บ

      เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บ ของ (เก้าอี้,ดินสอ,หนังสือ) ที
      เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว

      เพลง เก็บของเล่น

      ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ     จะเรียบร้อยโดยฉับพลัน
           พวกเราจะต้องช่วยกัน           ทุกวันเก็บของเล่นให้ดี (ซ้ำ)

      เพลงที่ใช้เรียกเด็ก ผู้หญิง/ผู้ชาย ออกไปเข้าแถวก่อน

      เด็กผู้หญิงอยู่ไหนๆ อยู่นี่จ๊ะๆ 
      สุขสบายดีหรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ
      ไปก่อนละ สวัสดี

      เด็กผู้ชายอยู้ไหนๆ อยู่ที่ครับๆ
      สุขสบายดีหรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ
      ไปก่อนละ สวัสดี

      เพลงที่ทำให้เด็กสงบ

      เอามือวางไว้ที่ หัว ช่างน่ากลัว น่ากลัวจริงๆ
      เอามือวางไว้ที่ ไหล่ ช่างไฉไล ไฉไลจริงๆ
      เอามือวางไว้ที่ อก ช่างตลก ตลกจริงๆ
      เอามือวางไว้ที่ ตัก ช่างน่ารัก น่ารักจริงๆ


      นั่งตัวตรงๆ วางมือลงไว้บนตัก  
      เด็กๆ ที่น่ารัก ต้องรู้จักตั้งใจฟัง
      ต้องรู้จักตั้งใจดู
      ต้องรู้จักฟังคุณครู


      ปิดหูซ้ายขวา ปิดตา 2 ข้าง ปิดปากเสียงบ้าง แล้วนั่งสมาธิ


      ปรบมือ แปะๆๆ  เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มา เอามือปิดปากรูดซิป


      หนึ่ง สอง สาม หนึ่ง สอง สาม เรือแล่นตามกันมา
      ลอยไปตามน้ำใส ลอยไป ลอยไป ลอยมา ลอยมา แล้วก็ ลอยไป


      วิธีสงบเด็ก
      • สร้างข้อตกลง เช่น กอดอก แล้วต้องเงียบ , ปรบมือ แล้วต้องเงียบ เป็นต้น
      • ให้ครูทำท่าทางต่างๆ แต่ไม่มีเสียง เพื่อเรียกความสนใจ ให้เด็กหันมาดูว่าครูต้องการจะสื่อสารอะไร 

      วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

      Diary Note 23 January 2017

      Diary Note No.1


      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
      Learning Experiences Management in Early Childhood

      แนะนำรายละเอียดต่างๆ ของรายวิชา พร้อมแจก Course Syllabus



      เนื้อหาที่เรียน
      • พัฒนาการและคุณลักษณ์ตามวัยของเด็กปฐมวัย
      • การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
      • ความสนใจของเด็กปฐมวัย
      สรุปองค์ความรู้เนื้อหาที่เรียน


      เขียนตารางกิจกรรมประจำวันตามโรงเรียนที่ตนไปสังเกต