Cute Green Cloud

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Diary Note 24 April 2017

Diary Note No.10


***สอนเสริมประสบกาณ์วันพฤหัสบดี***

หน่วย ดิน เรื่อง ประโยชน์ของดิน





ข้อเสนอแนะ
  • นิทานควรเล่มใหญ่กว่านี้
  • นิทานเขียนกว้างเกินไป ควรเขียนให้ชัดเจน
  • คำที่เขียนในนิทานต้องเป็นคำง่ายๆ
  • ภาพที่เตรียมมาต้องใหญ่กว่านี้
เทคนิค
  1. ขั้นนำ คือ การสอนโปรยความรู้
  2. ขั้นสอน คือ สอนเสริมประสบการณ์เดิมของเด็ก
  3. ขั้นสรุป คือ สรุปเรื่องที่เรียนมาทั้งหมดในวันนี้



หน่วย นม เรื่อง ประโยชน์ของนม Cooking นมเย็น






ข้อเสอนแนะ
  • บอกวัตถุดิบให้เด็กรู้จักก่อน เด็กจะได้รู้ว่าจะหยิบอะไรใส่ลงไป
  • ขั้นตอนการทำ ควรทำเป็น 4 ชาร์ท
การประยุกต์ใช้กับ STEM
  • S ขณะที่เด็กทำนมเย็น การเปลี่ยนสีของนม
  • T ขั้นตอนการวางแผน
  • E ได้นมเย็น
  • M ส่วนผสม ใส่กี่ช้อน กี่ถ้วย



หน่วย ไข่ เรื่อง ประโยชน์ของนม Cooking ไข่พระอาทิตย์



ข้อเสนอแนะ
  • ให้เด็กออกแบบ และให้ใส่ผักตามใจชอบ
  • สร้างประเด็กปัญหา ทำอย่างไร ไข่ถึงจะกินได้
  • ตั้งสมมติฐาน ถ้าใส่ไข่ในกระทะร้อนๆ เด็กๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขั้น "ไข่สุก" คือ สมมติฐาน
  • ทำการทดลองโดยให้เด็กสังเกต สี กลิ่น และ การเปลี่ยนแปลงสถานะ



***สอนเสริมประสบกาณ์วันศุกร์***

หน่วย ดิน เรื่อง โทษของดิน





ข้อเสนอแนะ
  • ใช้ภาพเป็นประเด็นปัญหา
  • ใช้คำถามปลายเปิด มีกรณีศึกษา


หน่วย ดิน เรื่อง โทษของนม


ข้อเสนอแนะ
  • ให้นำเนื้อหาจากเพลงมาสอน



หน่วย ไข่ เรื่อง การทำไข่เค็ม





ข้อเสนอแนะ
  • ใช้คำถามถามเด็ก ไข่ถ้าเราจะเก็บไว้นานๆ เด็กๆ จะทำอย่างไรคะ






Diary Note 20 April 2017

Diary Note No.9


***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันจันทร์***

หน่วยไข่ เรื่อง ประเภทของไข่






ข้อเสนอแนะ
  • นับเรียงจากซ้ายมือของเด็กไปยังขวามือของเด็ก เมื่อนับเสร็จแล้วให้เด็กออกมาปักป้ายกำกับจำนวน
  • ควรบอกเกณฑ์แบ่งให้ชัดเจน



หน่วยกล้วย เรื่อง ประเภทของกล้วย






ข้อเสนอแนะ
  • ถ้าเด็กอนุบาล 3 ให้เด็กจับกลุ่มกล้วยไปเลย
  • 1 ต่อ 1 เป็นระยะเริ่มต้น สอนแค่ครั้งแรก ครั้งต่อไปสอนจับกลุ่มไปเลย




***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันอังคาร***

หน่วยดิน เรื่อง ลักษณะของดิน



ข้อเสนอแนะ

  • สอนในสิ่งที่อยู่ไกลๆ ตัวก่อน แล้วค่อยมาสอนสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ
  • มีประเด็นให้เด็กได้คิด
  • ภาชนะที่ใส่ดิน ควรโปร่งใส
  • มีผ้าเช็ดมือ หรือ กระดาษทิชชู่
  • สอนให้เสร็จไปเรื่องๆ ไป
  • ควรมีรูปภาพมาประกอบ



หน่วยไข่ เรื่อง ลักษณะของไข่

***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันพุธ***

หน่วยไข่ เรื่อง ประโยชน์ของไข่







ข้อเสนอแนะ
  • นิทานต้องเล่มใหญ่กว่านี้
  • เมื่อเล่นนิทานเสร็จ ต้องพูดสรุปเนื้อหาจากนิทาน
  • เนื้อหาในนิทานสอนอะไร ก็สอนถามนั้น
  • สรุปและบันทึกประสบการณ์เดิมที่นอกเนื้อจากนิทาน
  • ควรมีภาพประกอบ

Diary Note 27 March 2017

Diary Note.8

***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันจันทร์***

หน่วยดิน เรื่องประเภทของดิน





หน่วยนม เรื่องประเภทของนม





หน่วยสัตว์ เรื่องประเภทของสัตว์





***สอนแผนเสริมประสบการณ์วันอังคาร***

หน่วยนม เรื่องลักษณะของนม




Diary Note 13 March 2017

Diary Note.7

นิทานกับดักหนู



การสอนแบบโครงการ Project Approach 




5 ลักษณะของการสอนแบบโครงการ Project Approach
  • ลักษณะที่ 1 การอภิปราย
  • ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  • ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
  • ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
  • ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง
วิธีการสอนแบบโครงการ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้น
         - เริ่มต้นจากประสบกาณ์เดิม ข้อคำถามที่เด็กสงสัย สร้างประเด็กสำคัญ การบันทึก ออกแบบกิจกรรมโดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม
  • ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
         - เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่เด็กสงสัย ขอความร่วมมือจากผู้แกครอง ขั้นสุดท้ายของระยะที่ 2 คือ การวางแผนกำหนดหน้าที่ว่าใครจะนำเสนออะไรและในระยะทำอะไรบ้าง
  • ระยะที่ 3 การสรุป
         - การนำเสนอ การจัดแสดง เป็นชิ้นงานต่างๆ 
**เมื่อจบ Project ต้องสารนิทัศน์ได้**

การเลือกเรื่อง
  • ดูความต้องการของเด็กจริงๆ ต้องไม่เกิดจากการลงมติ
  • เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
  • ผู้ปกครองให้ความร่วมมือได้
  • สอนดคล้องกับหลักสูตร
การสอนแบบโครงการตอบสนองการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโอวาร์ด การ์ดเนอร์

พหุปัญญา 8 ด้าน
  1. ปัญญาด้านภาษา
  2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
  5. ปัญญาด้านดนตรี
  6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
  7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
  8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
ตรวจแผนเสริมประสบการณ์ของตนเอง






Diary Note 6 March 2017

Diary Note No.6


เพลงที่ฝึกการใช้สมองเป็นฐาน

เพลง ศูนย์ สอง ห้า สิบ

 ศูนย์ สอง ห้า สิบ (ซ้ำ)
นวดไหล่ซ้าย
นวดไหล่ขวา
แล้วหันมาหัวเราะกัน (ซ้ำ)
ฮะ ฮ่ะ ฮ่า ฮะ ฮ่ะ ฮ่า


เพลง จับหัว จับหู จับไหล่

จับหัว จับหู จับไหล่
จัดดูใหม่ จับไหล่ จับหู
นับใหม่ จับให้ฉันดู (ซ้ำ)
จับหัว จับหู แล้วมาจับไหล่


เพลง อย่าเกียจคร้าน

อย่าเกียจคร้านการทำงานนะพวกเรา
งานหนักงานเบา เหนื่อยแล้วเราพักผ่อนก็หาย
ไม่มีงานหลบหลีกงาน ด้วยเกียจคร้าน เอาแต่สบาย
แก่จนตายขอทำนายว่าไม่เจริญ

เทคนิคการสอนร้องเพลง
  1. อ่านให้เด็กฟัง
  2. ให้เด็กตามทีละวรรค
  3. ร้องพร้อมกัน
***ภาพกิจกรรม***





Diary Note 4 March 2017

Diary Note No.5

นำเสนอแผนเคลื่อนไหวและจังหวะของแต่ละหน่วย ดังนี้

หน่วยไข่

หน่วยนม

หน่วยดิน










วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

Diary Note 20 February 2017

Diary Note.4

อาจารย์ให้นักศึกษาที่เขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ วันจันทร์ ออกมาสอน

หน่วยไข่





หน่วยนม




หน่วยดิน







ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากไหน??

  • ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก หรือสาระที่เด็กควรเรียนรู้ 4 สาระ 
  • เมื่อได้หัวข้อ หรือ หน่วยที่สอนแล้ว ให้นำมาแตกเนื้อหา เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่เราจะเรียนมีอะไรบ้าง ซึ่ง เนื้อหาต้องจัดให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กด้วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

**สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้**

วัตถุประสงค์

  • คือ สิ่งที่เด็กต้องทำ
สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

  • คือ เนื้อหาที่เราจะสอน
แนวคิด
  • คือ คอนเซ็ป ตัวสรุป
ประสบการ์ณสำคัญ
  • นำมาจากหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
  • เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

การบูรณาการ
  • คือ การนำศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสาน รวมกัน ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

     1.คณิตศาสตร์

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      2. วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ขั้นสังเกตและระบุปัญหา
         คือ ระบุปัญหาเรื่องที่ต้องการศึกษา และกำหนดขอบข่ายของปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมติฐาน
         คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือ คาดเดาคำตอบที่ได้รับ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล
         คือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยันโดยการสังเกต หรือ การทดลอง
  • ขั้นสรุปผล
         คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
ปัญหา - -> คำถาม - -> สมมติฐาน - -> ทดลอง - -> สรุป

ในหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ อาจารย์ให้คิดปัญหา และตั้งสมมติฐาน
  • กลุ่มดิน
    ปัญหา : ดินชนิดไหน น้ำไหลผ่าน หรือ ดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด และเหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุด

    สมมติฐาน : ดินทราย     น้ำน่าจะไหลผ่านได้ดีที่สุด
                        ดินร่วน        น้ำน่าจะไหลผ่านได้น้อยกว่าดินทราย
                        ดินเหนียว   น้ำไหลผ่านได้ยากกว่าดินทราย และ ดินร่วน

      3. สังคม
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง
  • การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

      4. ศิลปะ
  • กิจกรรม ปั้น ฉีก ตัด ปะ

      5. ภาษา
  • การฟัง
  • การพูด
ตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์ หน่วยไข่

เพลง  - ->  ถามเนื้อหาในเพลง  - ->  เขียน ไข่ที่มีอยู่ในเพลง และ ไข่ที่มีนอกเนื้อในเพลง  - ->  เอาไข่ใส่กล่องให้เด็กล้วง  - ->  เอาออกมาให้ดู  - ->  ให้เด็กคาดคะเนว่ามีไข่ประมาณที่ใบ  - -> นำมาวางเรียงกันเป็นแถว  - -> นับตัวเลข  - ->  เขียนเลขฮินดู-อาร์บิก  - ->  แยกประเภท  - -> นำออกมา  - ->  เรียงเป็นแถว  - ->  นับจำนวนให้เด็กตอบจากการดูด้วยตา    - ->  จับคู่ 1 ต่อ 1