Cute Green Cloud

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

Diary Note 20 February 2017

Diary Note.4

อาจารย์ให้นักศึกษาที่เขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ วันจันทร์ ออกมาสอน

หน่วยไข่





หน่วยนม




หน่วยดิน







ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากไหน??

  • ที่มาของหัวข้อ หรือ หน่วยที่สอน มาจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก หรือสาระที่เด็กควรเรียนรู้ 4 สาระ 
  • เมื่อได้หัวข้อ หรือ หน่วยที่สอนแล้ว ให้นำมาแตกเนื้อหา เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่เราจะเรียนมีอะไรบ้าง ซึ่ง เนื้อหาต้องจัดให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กด้วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

**สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้**

วัตถุประสงค์

  • คือ สิ่งที่เด็กต้องทำ
สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

  • คือ เนื้อหาที่เราจะสอน
แนวคิด
  • คือ คอนเซ็ป ตัวสรุป
ประสบการ์ณสำคัญ
  • นำมาจากหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
  • เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

การบูรณาการ
  • คือ การนำศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสาน รวมกัน ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

     1.คณิตศาสตร์

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      2. วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ขั้นสังเกตและระบุปัญหา
         คือ ระบุปัญหาเรื่องที่ต้องการศึกษา และกำหนดขอบข่ายของปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมติฐาน
         คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือ คาดเดาคำตอบที่ได้รับ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล
         คือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยันโดยการสังเกต หรือ การทดลอง
  • ขั้นสรุปผล
         คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
ปัญหา - -> คำถาม - -> สมมติฐาน - -> ทดลอง - -> สรุป

ในหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ อาจารย์ให้คิดปัญหา และตั้งสมมติฐาน
  • กลุ่มดิน
    ปัญหา : ดินชนิดไหน น้ำไหลผ่าน หรือ ดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด และเหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุด

    สมมติฐาน : ดินทราย     น้ำน่าจะไหลผ่านได้ดีที่สุด
                        ดินร่วน        น้ำน่าจะไหลผ่านได้น้อยกว่าดินทราย
                        ดินเหนียว   น้ำไหลผ่านได้ยากกว่าดินทราย และ ดินร่วน

      3. สังคม
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง
  • การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

      4. ศิลปะ
  • กิจกรรม ปั้น ฉีก ตัด ปะ

      5. ภาษา
  • การฟัง
  • การพูด
ตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์ หน่วยไข่

เพลง  - ->  ถามเนื้อหาในเพลง  - ->  เขียน ไข่ที่มีอยู่ในเพลง และ ไข่ที่มีนอกเนื้อในเพลง  - ->  เอาไข่ใส่กล่องให้เด็กล้วง  - ->  เอาออกมาให้ดู  - ->  ให้เด็กคาดคะเนว่ามีไข่ประมาณที่ใบ  - -> นำมาวางเรียงกันเป็นแถว  - -> นับตัวเลข  - ->  เขียนเลขฮินดู-อาร์บิก  - ->  แยกประเภท  - -> นำออกมา  - ->  เรียงเป็นแถว  - ->  นับจำนวนให้เด็กตอบจากการดูด้วยตา    - ->  จับคู่ 1 ต่อ 1 




Diary Note 6 February 2017

Diary Note No.3

ปรัชญาของการศึกษาปฐมวัย

"การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม"
 
หลักการ
              1.การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
              2.การสร้างสภาพแวดล้อมที่เื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
              3.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
              4.การบูรณาการการเรียนรู้
                        ผสมผสานให้เข้ากัน บูรณาการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                                  1.บูรณาการแบบไม่เห็นร่องรอย เช่น สมูทตี้
                                  2.บูรณาการแบบเห็นร่องรอย เช่น ส้มตำ
                        บูรณการให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
              5.การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
                        ต้องรู้ว่าสุดท้ายที่จัดประสบการณ์ เด็กมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    ต้องมีการประเมิน ประเมินโดยการสังเกต ---> แบบสังเกต ประเมินโดยการสนทนา ---> แบบบันทึก ประเมินโดยผลงานเด็ก ---> ดูคุณลักษณะตามวัย เป็นเกณฑ์ ถ้าประเมินหลาย ๆ อย่างร่วมกันเรียกว่า Portfolio
              6.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวเด็ก
                       เช่น การเยี่ยมบ้าน การรับส่งเด็ก จดหมาย บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง สื่อสังคมต่าง ๆ ติดต่อทาง Internet

      หัวเรื่อง คือ สาระที่เด็กควรเรียนรู้ ซึ่งมี 4 สาระ ดังนี้
      1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
      2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
      3. ธรรมชาติรอบตัว
      4. สิ่งต่างๆ รอบตัว
      ** ซึ่งทั้ง 4 สาระที่เด็กควรเรียนรู้ จะเป็นตัวกำหนด ชื่อหน่วย ต่างๆ **

      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยที่จะสอน กลุ่มละ 1 หน่วย

           โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
      1. หน่วยนม
      2. หน่วยไข่
      3. หน่วยดิน
      คิดแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยของกลุ่มตัวเองตั้งไว้ ระยะเวลา 5 วัน จ.-ศ.